STAY SOCIAL

Design your unique jewelry or consult about jewelry and gems.

Custom made

OUR ADDRESS

Call: +6681-889-2370

Email: avalonjewelbymanee@gmail.com

 30 Subsin rd, Wangburapapirom, Pranakorn, Bangkok 10200

OPENING HOURS

Monday to Saturday: 9 am to 5 pm

Added: Sunday: Closed

วิธีลงยาทั้ง 5 เสริมราคาเครื่องประดับ

วิธีลงยาทั้ง 5 เสริมราคาเครื่องประดับ
March 18, 2023 admin
In Jewelry making

ในปัจจุบันเราได้มีเครื่องประดับไว้ใช้สำหรับประดับสวมใส่กับเครื่องแต่งกายมากมาย ประเภทเครื่องประดับที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประเภทหนึ่งนั่นก็คือเครื่องประดับลงยา เป็นเครื่องประดับที่มีลวดลายด้วยการแต่งแต้มสีอย่างสีแดง สีน้ำเงิน สีขาว และสีเขียว เพื่อเพิ่มความสวยงามชวนมองให้กับเครื่องประดับหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นแหวน กำไล สร้อยคอ จี้ และสร้อยข้อมือ


วันนี้ AVALON จะพาท่านมาทำความรู้จักกับเครื่องประดับลงยาให้มากยิ่งขึ้นกัน

ความหมายของการลงยา

การลงยา (Enamelling) คือ การใช้สารเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีต่างๆ เป็นหนึ่งในวิธีการตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ และเครื่องประดับซึ่งได้รับความนิยมสูงสุดในการเพิ่มสีสันให้กับงานออกแบบเครื่องประดับ การลงยาได้รับการยกระดับจากการเป็นเพียงเทคนิคตกแต่งมาเป็นการเคลือบเพื่อปกป้องพื้นผิวและช่วยเพิ่มมิติใหม่ให้เครื่องประดับทองและเงิน โดยวิธีการลงยามีมากมายและมีความน่าสนใจและโดดเด่นไม่แพ้กัน สำหรับตัวสารที่ใช้ลงยานั้นทำมาจากสารสีคล้ายแก้วธรรมชาติ ซึ่งปกติจะประกอบด้วยผงโพแทสเซียมและซิลิกาผสมกับน้ำมัน ทำให้เกิดสีสันที่สวยงามด้วยการใส่เมคะลิคออกไซด์และนำสารดังกล่าวไปใช้กับกระเบื้องเคลือบ ทอง เงิน ทองแดง แก้ว และอื่นๆ ขณะที่ตกแต่งพื้นผิวด้วยการเผาในอุณหภูมิต่ำ

ทำความรู้จักกับความเป็นมาของเครื่องประดับลงยา 

การลงยาในเครื่องประดับนั้นมีมาตั้งแต่อดีตกาลในสมัยกรีกโบราณ อียิปต์ และโรมัน ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก การลงยาได้เข้ามาสู่ประเทศไทยในช่วงยุคกรุงศรีอยุธยาโดยพ่อค้าชาวเปอร์เซียร์เป็นผู้นำเข้ามา การลงยามีหลากหลายวิธีและคนไทยได้รับความรู้การลงยาจากชาวเปอร์เซียร์โดยนำเครื่องโลหะ เช่น ทองคำไปทุบให้เป็นช่อง จากนั้นจึงนำสีต่างๆ เช่น สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน และสีขาว หยอดลงไปให้เป็นลวดลาย แล้วนำไปอบด้วยอุณหภูมิที่สูง

การลงยา มีในหลายประเทศและมีอยู่หลายแบบ ประเทศไทยนิยมในแบบที่เรียกว่า กลัวซอนเน (cloisonné) หรือที่จีนเรียกว่า ฟาลัง (fa-lang) ซึ่งนิยมกันมาตั้งแต่อียิปต์ กรีก เปอร์เซีย โรมัน และตะวันออกกลาง ตลอดจนประเทศในภูมิภาคเอเชีย

แรกเริ่มเดิมทีในสมัยกรุงศรีอยุธยาจะนิยมใช้เครื่องประดับมาแต่งตัวเป็นอย่างมาก สกุลช่างทองราชสำนักฯ จะสร้างชิ้นงานเครื่องราชูปโภคต่างๆ ของพระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูงด้วยกรรมวิธีลงยา ไม่ว่าจะนำมาประดับเป็นแหวน สร้อยคอ หรือแม้แต่เครื่องใช้ต่างๆ ก็ล้วนนำมาลงยาทั้งสิ้น ซึ่งมีสีสันตระการตากว่าเครื่องทองตอกหมุดฉลุลายแบบดั้งเดิม ซึ่งกรรมวิธีการลงยาสีของไทยนั้นสันนิษฐานว่าชาวเปอร์เซียเป็นผู้นำเข้ามาเผยแพร่ตั้งแต่สมัยอยุธยา จึงนิยมอยู่ในหมู่ข้าราชการ ชนชั้นสูงและราชสำนัก แต่มีสีไม่มากเท่าในปัจจุบัน

ในสมัยรัตนโกสินทร์การทำเครื่องลงยาสีได้รับความนิยมมาก จะเห็นได้จากเครื่องราชูปโภคและราโชปโภคที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 จะนิยมนำเครื่องประดับรวมไปถึงเครื่องใช้มาทำการลงยาสีน้ำเงินหรือเรียกว่าการลงยาราชาวดี เช่น พระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งทำด้วยทองคำลงยาประดับเพชร พานพระขันหมากใหญ่ และพระโกฏิอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมชนก ซึ่งจะเป็นงานลงยาราชาวดี จากการปรากฏตามคำบอกเล่าของพระยาอนุมานราชทัน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดปรานลงยาสีชนิดที่เรียกว่าราชาวดี คือ การลงยาด้วยน้ำยาสีขี้นกการเวก หรือสีฟ้าเขียว ซึ่งเป็นสีที่พบใหม่ในสมัยนั้น หากไม่มีสีฟ้าในชิ้นงานจะเรียกว่าทองลงยา

ดังนั้นเครื่องราชูปโภคหลายชิ้นในสมัยนั้นจึงเป็นการลงยาราชาวดี ซึ่งตัวยาสีนี้คือแก้วสีที่หลอมละลายกับแร่ธาตุที่มีสีต่างๆ ได้เป็นสีใสตามเนื้อแก้ว ถ้าต้องการให้ขุ่นจะผสมออกไซด์ของดีบุกหรือพลวง

การทำเครื่องลงยามีความรุ่งเรืองอย่างสูงสุดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนวรจักรธรานุภาพทรงเป็นผู้กำกับการช่างแขนงนี้ด้วยพระองค์เอง ต่อมาเครื่องราชูปโภคและราโชปโภครวมทั้งเครื่องประกอบยศของเจ้านายตลอดจนขุนนางต่างๆ รวมถึงเครื่องประกอบสมณศักดิ์พระภิกษุสงฆ์ ล้วนเป็นเครื่องลงยาราชาวดีแทบทั้งสิ้น

นี่จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าการลงยาเป็นการเพิ่มสีสันความสวยงามให้กับเครื่องประดับที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน และในพิธีแต่งงานของไทย เจ้าสาวสามารถเลือกเครื่องประดับที่ใช้การลงยามาประดับร่างกายควบคู่กับการแต่งชุดไทยได้เพราะจะช่วยส่งให้เจ้าสาวดูสง่างามราวกับหญิงสาวในราชสำนักโบราณ และด้วยการลงยาที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ก็จะช่วยส่งให้เครื่องประดับและผู้สวมใส่มีสง่าราศีมากยิ่งขึ้น ส่วนเครื่องประดับลงยาที่เหมาะกับว่าที่บ่าวสาวทั้งคู่เป็นอย่างมากก็คือ แหวนลงยา ซึ่งสามารถทำเป็นแหวนพิรอดหรือแหวนนพเก้าลงยาก็ได้ เพราะด้วยความหมายที่ดีกับรูปทรงที่ดูงดงามก็จะทำให้แหวนหมั้นของบ่าวสาวดูโดดเด่นและน่าสนใจ สง่างามและไม่เหมือนใคร

 

ประเภทของการลงยา

CHAMPLEVE

เป็นชื่อมาจากภาษาฝรั่งเศส หมายถึง การทำลายนูน เป็นเครื่องโลหะลงยาที่นิยมกันมากในยุโรปยุคกลาง โดยใช้วิธีทุบแผ่นพื้นโลหะให้เป็นร่องบุบลงไป หยอดน้ำยาสีต่างๆลงในร่องเหล่านั้นตามลวดลายแล้วนำไปอบ การตกแต่งด้วยวิธีนี้ส่วนใหญ่จะทำกับทองเหลืองและทองแดง แต่บางครั้งก็นำไปใช้กับทอง งานช่างไทยที่มีลักษณะคล้ายกันนี้เรียกว่า เครื่องถมปัด พบได้ที่ซุ้มประตูหน้าต่างปราสาทพระเทพบิดร

BASSE-TAILLE
เป็นชื่อมาจากภาษาฝรั่งเศส หมายถึง การลงยาแบบโปร่งแสง เทคนิคนี้มีต้นกำเนิดในประเทศอิตาลี และหลังจากนั้น มีการนำไปใช้ในที่ต่างๆในทวีปเดียวกันโดยเฉพาะในฝรั่งเศสและในอังกฤษ ตามกระบวนการนี้พื้นผิวของโลหะที่จะถูกลงยาจะมีการออกแบบลายนูนต่ำ ซึ่งจะทำให้พื้นผิวที่ได้รับการตกแต่งสามารถมองเห็นได้จากยาที่ลงไว้อย่างโปร่งแสง และโปร่งใส พื้นผิวด้านหน้าจะสะท้อนแสงและความลึกของรอยตัดจะทำให้เห็นความลึกของสีที่ลงยาไว้ด้วย เป็นเทคนิคการตกแต่งด้วยการลงยาบนพื้นผิวของโลหะ ซึ่งมีการออกแบบที่เล่นระดับต่างๆกันเอาไว้แล้ว ทั้งด้วยการดุนลาย แกะ สลักหรือทุบ โดยปกติพื้นผิวของโลหะจะเป็นทองหรือเงิน บางครั้งจะใช้สีต่างๆกัน แต่จะให้ผลดีที่สุดเมื่อใช้เพียงสีเดียวซึ่งปกติจะนิยมใช้สีน้ำเงินหรือเขียว

CLOISONNE

เป็นชื่อมาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า cloison ที่หมายถึงช่อง เป็นการใช้เส้นทองหรือทองแดงเดินลายพื้นโลหะแทนการทุบพื้นโลหะให้บุบ นิยมใช้กันในสมัยจักรวรรดิไบแซนไทน์แล้วแพร่เข้ามาที่จีนทำกันอย่างแพร่หลายที่กวางตุ้ง เรียกว่าเครื่องลงยาแบบกวางตุ้งหรือฟาลัง  เป็นที่รู้จักกันดีในสมัยอยุธยาเพราะไทยเป็นลูกค้าสำคัญของจีนเรียกว่าเครื่องลงยาสี

PAINTING
เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่าการลงยาแบบไลโมเกส ด้วยวิธีการนี้สีลงยาอย่างดีจะถูกนำมาทาเป็นพื้นเพื่อเป็นการสร้างภาพให้เกิดขึ้น โดยส่วนมากมักนำมาใช้บนพื้นลงยาสีขาว ทึบแสง คุณภาพของภาพวาดจากสีลงยาทำให้มีความเหมาะสมเป็นพิเศษสำหรับภาพถ่าย

PLIQUE-A-JOUR

เป็นชื่อมาจากภาษาฝรั่งเศส หมายถึง การถักทอในแสงแดด การลงยาวิธีนี้จะไม่มีด้านหลังเพราะต้องการให้เห็นทั้ง 2 ด้าน ช่องต่างๆจะถูกตัดออกจากแผ่นโลหะก่อน หลังจากนั้นจึงจะทำการลงยาโดยยาที่ลงไว้จะไปหุ้มปิดช่องต่างๆ แต่การลงยาวิธีนี้ไม่ค่อยมีความคงทนนัก หากโลหะเกิดการงอก็จะทำให้วัตถุที่ลงยาไว้เกิดรอยแตกขึ้นได้ เทคนิคนี้นิยมใช้กับอัญมณีและการทำตัวเรือนที่เป็นทองคำ แต่ก็มีการนำไปใช้กับเครื่องลายครามเช่นกัน

ความแตกต่างของการถมกับการลงยา
การถม หมายถึง การใช้น้ำยาแต้มลงในร่องลายที่คนไว้ของภาชนะ อาวุธ หรือเครื่องประดับที่เป็นโลหะ แล้วใช้ไฟเป่าหรือเผาให้น้ำยาละลายลงในร่องลายที่ต้องการ จากนั้นจึงลงตะไบและกระดาษทรายให้ผิวโลหะเรียบเสมอกัน ก็จะเกิดลวดลายเด่นชัดขึ้น น้ำยาถมนี้ทำจากโลหะผสมใช้ความร้อนต่ำในการหลอมละลาย
การลงยา หมายถึง การแต้มสีหรือน้ำยาที่ลงในร่องลายของภาชนะ อาวุธ หรือเครื่องประดับที่เป็นโลหะแทนการฝังอัญมณี เดิมใช้เฉพาะสีแดง เขียว ต่อมามีสีเพิ่มคือ แดง เขียว น้ำเงิน และฟ้า

 

Comments (0)

Leave a reply